วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

เหี้ย


เหี้ย

ภาพ:ตัวเหี้ย.jpg
        "ตัวเหี้ย" หรือ "ตัวเงินตัวทอง" หรือชื่อสากลว่า water monitor เป็นสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่ม monitor lizard ด้วยรูปร่างที่แปลกประหลาดและพฤติกรรมส่วนตัวของมัน ทำให้คำว่าตัวเหี้ยกลายเป็นภาษาที่ไม่สุภาพในที่สุด ทั้งที่แท้จริงแล้ว "เหี้ย" คือชื่อที่ถูกต้อง คำว่า "เหี้ย" นั้นมักใช้เป็นคำด่าทอ บางคนจึงเรียก ตัวเงินตัวทอง แทน ในเชิงการใช้คำศัพท์แบบที่ใช้กับคน มักจะใช้กับเพื่อนสนิทมากๆ พูดเป็นคำสร้อยนำหน้าชื่อก็มี

 ต้นกำเนิดเเละวิวัฒนาการ

        บรรพบุรุษของสัตว์สกุลนี้ถือกำเนิดในช่วงปลายของยุคไดโนเสาร์เมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน จนกระทั่งปัจจุบันนี้เหลืออยู่เเค่ประมาณ 67 ชนิดใน 3 ทวีปคือ ออสเตรเลีย เอเชีย และแอฟริกา สำหรับชนิดที่มีความยาวมากที่สุด 2 อันดับแรกอยู่ในทวีปเอเชีย คือ มังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ในประเทศอินโดนีเซีย ส่วนตัวเหี้ยในประเทศไทย ยาวเป็นอันดับที่สอง มีรูปร่างคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่มีความยาวได้ถึง 2.5-3 เมตร มีลิ้นแยกเป็นสองแฉกคล้ายงู ใช้สำหรับรับกลิ่น มีลายดอกสีเหลืองพาดขวางทางยาว ชอบอาศัยอยู่บริเวณใกล้แหล่งน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ป่าจากและป่าชายเลน ว่ายน้ำเก่งกว่าเพื่อนๆ ในสกุลเดียวกัน ดำน้ำได้นานว่ายน้ำเก่งและ ดำน้ำนาน ซึ่งเหี้ยมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ตะกวด เห่าช้าง และ ตุ๊ดตู่ ลักษณะนิสัยของตัวเหี้ยจะตื่นคนเวลาที่ตกใจหรือเจอศัตรูมักจะหนีลงน้ำไปอย่างรวดเร็ว ชอบหากินของเน่าเปื่อย เศษซากอาหาร บางครั้งก็จะกินสัตว์เป็นๆ เช่นไก่หรือเป็ดที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้

 สายพันธุ์เหี้ยในไทย

ภาพ:ตะกวด.jpg
        ในประเทศไทยตัวเหี้ยยังมีอยู่อีก 3 ชนิด ตัวแรกคือ คือ ตะกวด (Varanus bengalensis nebulosus) หรือภาษาอีสานเรียกว่า "แลน" คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นตัวเหี้ยเสมอ ตะกวดจะมีสีเรียบออกโทนสีน้ำตาลทั้งตัว ขณะที่ลำตัวของตัวเหี้ยเป็นสีดำมีลายดอกสีเหลืองเรียงอยู่อย่างมีระเบียบ รูปร่างส่วนใหญ่อาจจะดูคล้ายกัน แต่เมื่อสังเกตที่รูจมูกของตะกวด จะเห็นว่าอยู่ห่างจากปลายปากมาก ต่างจากตัวเหี้ยซึ่งรูจมูกอยู่ใกล้ปลายปากมาก ทั้งนี้เพราะกระบวนการวิวัฒนาการของรูปร่างนั่นเอง จมูกที่ใกล้ปลายปากทำให้ตัวเหี้ยสามารถอยู่ในน้ำได้นาน เวลาที่มันดำน้ำมันไม่ต้องเสียเวลาโผล่ขึ้นมาหายใจทั้งหัว เพียงแค่โผล่ส่วนปลายของหัวขึ้นมาก็หายใจได้แล้ว ขณะที่สายตายังคงกวาดหาเหยื่อในน้ำต่อไปได้ ส่วนตะกวดนั้นอาศัยอยู่ตามที่ดอน ห่างจากแหล่งน้ำออกมา ใช้ปากในการขุดคุ้ยอาหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแมลงต่างๆ และสัตว์ขนาดเล็กๆ จมูกของมันจึงต้องอยู่ห่างจากปลายปากออกมา สองชนิดนี้เป็นชนิดที่พบได้ง่ายและพบได้ทั่วประเทศไทย
ภาพ:Chang.jpg
  • เห่าช้าง
เห่าช้าง เป็นสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มของเหี้ย และ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Varanus rudicollis โดยชื่อ เห่าช้าง มาจากเสียงขู่ศัตรู ฟังดูคล้ายเสียงขู่ของงูเห่า เชื่อกันว่าน้ำลายมีพิษ หากถูกกัดจะเป็นอันตรายถึงตายได้ ที่จริงแล้วเป็นความเชื่อที่ผิด
ลักษณะทั่วไป
        ตัวจะเล็กกว่าเหี้ย มีความยาวประมาณ 1.3 เมตร มีสีดำเข้ม มีลายเลือน ๆ ขวางลำตัว ปากแหลมและเกล็ดบนสั้น เกล็ดบนคอใหญ่เป็นแหลม ๆ คล้ายหนามทุเรียน เฉพาะช่วงคอเกล็ดจะย้อนไปหาศีรษะ ชอบอยู่ในป่าทึบและเดินหากินบนพื้นดิน แต่ก็ปีนต้นไม้เก่ง พบในป่าในภาคใต้ของประเทศไทยและพม่า หมู่เกาะสุมาตรา บอร์เนียว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ แต่ก็มีรายงานพบที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมาด้วย อาหารคือ ไก่ นก ปลา กบ เขียด กินได้ทั้งของสด และของเน่า
การผสมพันธุ์
        ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม โดยวางไข่ตามหลุมที่ขุดเป็นโพรง เมื่อออกไข่แล้วจะไม่ฟักไข่ ลูกฟักออกจากไข่เองตามธรรมชาติ และเมื่อลูกออกจากไข่แล้วก็จะหากินเอง
ภาพ:เหี้ยดำ.jpg
  • เหี้ยดำ
เหี้ยดำ(มังกรดำ)Black Jungle Monitor ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus salvator komaini
ลักษณะทั่วไป
        มีขนาดเล็กกว่าเหี้ยมาก เมื่อโตเต็มวัยจากปลายปากถึงโคนหาง 50 เซนติเมตร หางยาว 60 เซนติเมตร มังกรดำ สีดำสนิทด้านทั้งตัว ไม่มีลายและจุดด่างเลย ท้องเทาเข้ม ลิ้นสีเทาม่วงมังกรดำเป็น Monitor ชนิดที่พบใหม่ มีรูปลักษณะคล้ายเหี้ยลักษณะของเกล็ดผิดเพี้ยนกันเพียงเล็กน้อย
ถิ่นอาศัย, อาหาร
        มังกรดำพบได้เฉพาะบริเวณชายทะเลและเกาะเล็ก ๆ ทางฝั่งตะวันตกภาคใต้ของประเทศไทย
ภาพ:เหี้ยลายดอก.jpg
  • เหี้ยลายดอก
Water Monitor
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus salvator
ลักษณะทั่วไป
        ตัวสีดำ ลิ้นสีม่วงปลายแฉกมีลายดอกสีขาวหรือเหลืองเป็นแถวพาดขวางตัว หางเป็นปล้องสีดำสลับกับเหลืองอ่อน หนังหยาบเป็นเกล็ด ลำตัวมีขนาดใหญ่กว่าสัตว์อื่นในจำพวกเดียวกัน แต่เล็กกว่ามังกรโคโมโด
ถิ่นอาศัย, อาหาร
        พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอินเดียและศรีลังกาในประเทศไทยพบได้ทุกภาค เหี้ยไม่เลือกอาหาร กินทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ สัตว์ปีก เช่น ไก่ นก ปลา กบ เขียด หนู กินได้ทั้งของสดและของเน่า
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
        ดุ ใช้หางเป็นอาวุธฟาดศัตรูแล้วใช้ปากกัด ชอบอยู่ใกล้น้ำว่ายน้ำ ดำน้ำเก่ง และขึ้นต้นไม้เก่งด้วย เหี้ยวางไข่ครั้งละ 15-30 ฟอง ขุดหลุมหรือทำโพรงเป็นที่วางไข่ ไม่ฟักไข่ คือพ่อแม่ไม่ต้องกกไข่ ลูกฟักตัวออกมาเองจากไข่โดยธรรมชาติ เมื่อลูกออกมาจากไข่แล้วก็หากินเอง เปลือกไข่นิ่มแต่เหนียว
ภาพ:ตุ๊ดตู่.jpg
  • ตุ๊ดตู่
Red-headed Monitor(Harlequin Monitor)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus dumerilii
ลักษณะทั่วไป
        ลำตัวยาว 50-125 เซนติเมตร เมื่อเล็กตั้งแต่ปลายปากถึงคอสีส้มถึงแดงเข้ม เมื่อโตสีจะจางลง มีขีดสีดำตั้งแต่ขอบตาถึงคอ ลำตัวมีขวั้นสีเหลืองตั้งแต่คอถึงปลายหาง ตุ๊ดตู่เป็นสัตว์ที่เล็กที่สุดในกลุ่มสัตว์จำพวกเหี้ย-ตะกวดที่พบได้ในประเทศไทย และเป็นสัตว์ไม่มีพิษ
ถิ่นอาศัย, อาหาร
        พบอาศัยในป่าดิบชื้นภาคใต้ของประเทศไทยและพบในมาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว สิงคโปร์ ตุ๊ดตู่กินเนื้อสัตว์และแมลงต่าง ๆ
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
เป็นสัตว์เชื่องช้า ไม่ค่อยออกไปหากินไกลจากที่หลับนอน ชอบนอนตามโพรงไม้ หรือซอกหิน เมื่อหิวจึงจะออกหากิน แล้วก็กลับเข้าหลับนอนตามเดิม ตุ๊ดตู่วางไข่ครั้งละ 23 ฟอง ระยะฟักไข่ 203 - 230 วัน
ภาพ:เเลนดอน.jpg
  • แลนดอน Yellow monitor
(V. flavescens)
        เคยมีรายงานในไทย แต่ไม่มีใครพบนานมากแล้วครับ แต่มีมากทางอินเดีย ติดบัญชีไซเตส 1ลักษณะคล้ายแลน แต่ไม่ค่อยอยู่ใกล้น้ำ คืออยู่ที่ดอน (คือ ตะกวด.....คนภาคใต้เรียก) แลนดอนพบภาคตะวันตกครับกับใต้ครับ

 การผสมพันธุ์

        เมื่อถึงช่วงผสมพันธุ์ในฤดูฝน ตัวเหี้ยจะจับคู่กันโดยไม่เลือกว่าคู่จะต้องเป็นตัวเดิม บางครั้งอาจมีการต่อสู้รุนแรงระหว่างตัวเหี้ยเพศผู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย โดยปกติแล้ว ไข่จะมีลักษณะรียาว บางครั้งจะสีขาวขุ่น จำนวนมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของแม่พันธุ์ ตัวเหี้ยส่วนใหญ่จะวางไข่ประมาณ 6-30 ฟองหรืออาจจะถึง 50 ฟอง ในขณะที่ตุ๊ดตู่วางไข่ครั้งละประมาณ 4-14 ฟอง ในแต่ละปีจะสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง และใช้เวลาฟัก 45-50 วัน หรืออาจมากกว่านั้นในพื้นที่ซึ่งสภาพในฤดูแล้งและฤดูฝนไม่แตกต่างกัน ไข่จะถูกกลบเป็นเนินดินหรือรังปลวก เวลาในการฟักขึ้นกับชนิดและสภาพแวดล้อม ทั้งนี้ตัวเหี้ยจะวางไข่ในปลายฤดูร้อนต่อเนื่องฤดูฝน จะจับคู่กันโดยไม่เลือกว่าคู่จะต้องเป็นตัวเดิม บางครั้งอาจมีการต่อสู้รุนแรงระหว่างตัวผู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย โดยออกลูกเป็นไข่

 การหากิน

        ชอบหากินของเน่าเปื่อย เศษซากอาหาร บางครั้งก็จะกินสัตว์เป็นๆ เช่นไก่ เป็ด ปู หอยงู หนู นก ปลา ปู หอย งู หนู นก และไข่ของสัตว์ต่างๆ รวมทั้งปลา ส่วนเห่าช้างและตุ๊ดตู่ จะกินอาหารที่มีขนาดเล็กกว่าอาหารโปรดของตัวเหี้ย ส่วนมากจะเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน ขณะที่ตะกวดจะกินแมลงตามเปลือกไม้เป็นอาหาร รวมทั้งไข่ของสัตว์อื่นๆ ที่มีขนาดพอดีกับความกว้างของปาก

 การบริโภคเหี้ยของมนุษย์

        เหี้ยมีการนำมารับประทานในทางภาคเหนือนำมาทำอาหารกินกัน ซึ่งราคาก็จัดอยู่ในระดับค่อนข้างจะดี เรียกว่า "แกงอ่อมแลน" รสชาติเผ็ด จัดจ้าน เนื้อเหี้ยจะมีรสชาติคล้ายเนื้อไก่บ้าน แต่จะแน่นมาก ตอนนี้จะมีสองแบบ คือแลน(เลี้ยง)กับแลนธรรมชาติ ตรงส่วนโคนหางที่เรียกว่า " บ้องตัน " จะอร่อยที่สุดเพราะเนื้อจะแน่นและมีกระดูกน้อย

 ที่มาของคำด่าทอ

        ในสมัยอดีต ชาวบ้านมักจะเลี้ยงไก่ไว้ในบริเวณบ้าน ตัวเหี้ยมักจะมาขโมยไก่ของชาวบ้านลากไปกินในน้ำ ทำให้เป็นสัตว์ที่ผู้คนเกลียดมาก เลยนำมาใช้เรียกคนไม่ดี ว่า "ไอ้เหี้ย" และกลายเป็นคำด่าทอมาจนปัจจุบัน อนึ่ง มีความเชื่อว่าถ้าเหี้ยขึ้นบ้านใคร บ้านนั้นจะมีแต่ความโชคร้าย จึงเปลี่ยนชื่อเรียกให้ฟังมีสิริมงคล โดยเรียกว่า " ตัวเงินตัวทอง "

 สวนสัตว์เปิดตัวเงินตัวทอง

        ด้วยมีการล่าสัตว์ในตระกูลนี้เป็นจำนวนมาก ประกอบกับการลดลงของป่าไม้ ที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ จึงมี "สวนสัตว์เปิดตัวเงินตัวทอง " ให้ได้ชมตัวจริง ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

 สถานภาพปัจจุบัน

        เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

1 ความคิดเห็น: