วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

สัตว์ป่า........สืบ นาคะเสถียร


"สัตว์ป่า"
เสียงปืนที่ดังลั่นตัวแม่นั้นต้องสิ้นใจ
ลูกน้อยที่แบกไว้ กระดอนไปเพราะแรงปืน
ฝืนใจเข้ากอดแม่ หวังแก้ให้แม่ฟื้น
แม่จ๋าเพราะเสียงปืน จึงไม่คืนชีวิตมา
โทษไหนจึงประหาร ศาลไหนพิพากษา
ถ้าลูกท่านเป็นสัตว์ป่า ใครเข่นฆ่าท่านยอมไหม
ชีวิตใครใครก็รัก ท่านประจักษ์หรือไม่ไฉน
โปรดเถิดจงเห็นใจ สัตว์ป่าไซร้ก็เหมือนกัน
บทกลอนได้รางวัลจากการประกวดคำขวัญด้านสัตว์ป่า-ป่าไม้ครั้งที่ ๓ ของ สืบ นาคะเสถียร
ซึ่งจัดโดยคณะวนศาสตร์ และกลอนบทนี้สามารถสะท้อนความรู้สึกของสืบ ที่มีต่อสัตว์ป่าได้ชัดเจนที่สุด
ผมคิดว่า ชีวิตผมทำได้ดีที่สุดแล้วเท่าที่ผมมีชีวิตอยู่
ผมคิดว่า ผมได้ช่วยเหลือสังคมดีแล้ว
ผมคิดว่า ผมได้ทำตามกำลังของผมดีแล้ว
และ...ผมพอใจ ผมภูมิใจสิ่งที่ผมทำ ...
 ๑ กันยายน ๒๕๓๓ เมื่อเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ไขกุญแจเข้าไปในบ้านพักของสืบ นาคะเสถียร ก็พบกระดาษแผ่นหนึ่งบนเตียงนอนมีข้อความว่า
ผมมีเจตนาที่จะฆ่าตัวเอง โดยไม่มีผู้ใดเกี่ยวข้องในกรณีนี้ทั้งสิ้น
ลงชื่อ สืบ นาคะเสถียร ผู้ตาย
(นายสืบ นาคะเสถียร)
๓๑ ส.ค. ๓๓
กระดาษอีกแผ่นหนึ่งมีข้อความว่า
ยงยุทธ
ถุงกอล์ฟ รองเท้ากอล์ฟ กล่องของของน้ำฝน กระเป๋าเอกสาร กล่องใส่เอกสาร หลักฐานต่าง ๆ กระเป๋ากุญแจบ้าน...กุญแจรถ กระเป๋าดำสารคดี ขอให้คุณยงยุทธนำคืนพร้อมรถโฟล์กให้แก่พ่อของผมด้วย โดยติดต่อ
คุณสลับ นาคะเสถียร ๑๗ หมู่ ๑๒ ถนนปราจีนอนุสรณ์ ต. ท่างาม อ. เมือง จ. ปราจีนบุรี โทร. ป.จ. ๐๓๗-๒๑๑๔๘๓ (ทุกเวลา)
สืบ นาคะเสถียร
๓๑ ส.ค. ๓๓
ปล. กระเป๋าสตางค์ และของพี่ฝากไว้กับหม่อม
สืบ นาคะเสถียร
๐๒.๐๐
๑ ก.ย. ๓๓

การเสียสละด้วยชีวิต
เช้ามืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจผ่าทางตัน ด้วยการสั่งเสียลูกน้อง คนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา 6 ฉบับ ชำระสะสางภาระรับผิดชอบ และทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง มอบหมาย เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระจนจิตใจสงบ ขณะที่ฟ้ามืดกำลังเปิดม่านรับวันใหม่ เสียงปืนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ก็ปิดม่านชีวิตของเขาลง และเป็นบทเริ่มต้น ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกายวาจา
และหลังจากนั้นอีกสองอาทิตย์ต่อมา ห่างจากบริเวณที่เกิดเสียงปืนดังขึ้นไม่กี่สิบเมตรบรรดาเจ้าหน้าที่ ระดับสูงของกรมป่าไม้ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ นายอำเภอ ป่าไม้เขต และ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ อีกนับร้อยคน ต่างกุลีกุจอมาประชุมกันที่ห้วยขาแข้ง อย่างแข็งขัน เพื่อหามาตรการป้องกันการบุกรุก ทำลายป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร รอวันนี้มาตั้งแต่วันแรกที่เขามาดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้แล้ว แต่หากไม่มีเสียงปืนนัดนั้น การประชุมดังกล่าวก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน...
การจากไปของ สืบ นาคะเสถียร ได้ส่งผลสะเทือนอย่างล้ำลึกต่อผู้คนที่รักธรรมชาติ และแสวงหาความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะว่าในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ สืบมิได้เป็นเพียงข้าราชการอาชีพที่มีภาระการงานเกี่ยวกับการพิทักษ์ป่า และสัตว์ป่าเท่านั้น หากเป็นผู้นำคนสำคัญของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทย เป็นผู้ที่เคยต่อสู้เพื่อปกปักรักษาทรัพยากรป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยไม่คำนึงภัยอันตรายใด ๆ การจากไปของเขานับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นความสูญเสียที่นักอนุรักษ์ธรรมชาติทุกคน ไม่อาจปล่อยให้ผ่านพ้นไป โดยปราศจากความทรงจำ


แนวความคิดเรื่องการอนุรักษ์และการพัฒนา
แต่อย่างไรก็ตาม การอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างใดอย่างหนึ่ง มิได้หมายถึงการเก็บรักษาโดยไม่นำมาใช้ประโยชน์ แต่เป็นการใช้อย่างถูกต้อง โดยวิธีที่จะใช้ทรัพยากรที่เหลืออยู่ดังกล่าว สามารถอำนวยประโยชน์ไม่เฉพาะทางใดทางหนึ่ง แต่สามารถอำนวยประโยชน์ให้ในทุก ๆ ด้าน และยังคงมีเหลืออยู่มาก พอที่จะเป็นทุนให้เกิดการพอกพูนขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อีก และยั่งยืนต่อไปในอนาคต. ดังนั้น ผลที่จะเกิดขึ้นจากการอนุรักษ์ มิได้เป็นประโยชน์เฉพาะคนที่อยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังคงสามารถอำนวยประโยชน์ต่อไปชั่วลูกชั่วหลานต่างหาก 
หนังสือเสียงเพรียกจากพงไพร. ธันวาคม 2533
ผมอยากเห็นว่า เราควรจะเปลี่ยนแนวทางที่จะพัฒนา ในความเห็นส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยกับ การดำเนินการพัฒนาโดยใช้ทรัพยากรที่เหลืออยู่น้อยนิดนี้ ผมไม่เห็นด้วยที่มัวพูดกันว่า เราจะใช้ทรัพยากรอย่างไรเพื่อการพัฒนาประเทศ แต่เราควรจะหันมาสนใจว่า เราจะรักษา สภาวะแวดล้อมหรือทรัพยากรที่เหลืออยู่จำกัดได้อย่างไร เราต้องประหยัดการใช้ใช่ไหม เราจะต้องหามาตรการควบคุมในทางปฏิบัติให้ได้
สารคดี ฉบับ 65หน้า 95, กรกฎาคม 2533
จะเป็นไปได้ไหมที่รัฐบาลจะเปิดใจกว้าง โดยการให้ทุกฝ่าย ทั้งประชาชน ผู้นำในท้องถิ่น ผู้แทนราษฎร นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง มาพูดคุยร่วมกัน คือบางคนอาจจะต้องรับสถานภาพของบางกลุ่ม ข้าราชการอาจต้องยอมรับสถานภาพของประชาชน คือ ลดตัวลง ในขณะเดียวกันก็เพิ่มฐานะของเขาให้ขึ้นมามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกัน แทนที่จะพูดกันคนละที 
สารคดี ฉบับ 65 หน้า 99, กรกฎาคม 2533
ผมคิดว่ามันหมดยุคแล้ว มันควรจะมาถึงยุคที่ทุกคนมีความเสมอภาคในการแสดงความคิดเห็น ช่วยกันแก้ปัญหา เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมมันไม่ได้เกิดขึ้นกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
สารคดี ฉบับ 65 หน้า 99, กรกฎาคม 2533
แนวความคิดเรื่องการรักษาป่า
ผมว่าประเทศไทยถ้าสามารถเก็บป่าธรรมชาติเอาไว้ได้ประมาณร้อยละ ๒๐ แล้วเราใช้อย่างถูกต้อง หมายถึง เก็บเอาไว้เพื่อให้มันอำนวยประโยชน์ในแง่ ของการควบคุมสภาวะแวดล้อมอะไรต่าง ๆ เป็นแหล่งผลิตของธาตุอาหาร หรือความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่าง ถ้าเราใช้ป่าทั้งหมดที่เป็นแหล่งกำเนิด ของความอุดมสมบูรณ์ไปแล้ว เราจะไปหาความอุดมสมบูรณ์ได้ที่ไหน 
สารคดี ฉบับ 68 หน้า 105, ตุลาคม 2533 
สิ่งที่ผมมักพูดอยู่เสมอก็คือ ป่าเราเก็บไว้เฉย ๆ ก็เป็นการอนุรักษ์ที่เราได้ประโยชน์ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องตัดมาใช้ ต้นไม้ให้อากาศ ให้น้ำ...นี่เป็นการใช้ใช่ไหม ใช้โดยที่เราไม่ต้องไปตัดเอาส่วนของมันมาใช้ 
สารคดี ฉบับ 65 หน้า 93, กรกฎาคม 2533 

ในความรู้สึกของผม เราไม่ต้องมานั่งเถียงกันหรอกว่า เราจะใช้ป่าไม้อย่างไร เพราะมันเหลือน้อยมากจนไม่ควรใช้ จึงควรจะรักษาส่วนนี้เอาไว้ เพื่อให้เราได้ประโยชน์ที่เป็นประโยชน์ทางอ้อม...มันจะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า การอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ จะต้องมองว่ามีการใช้ทั้งทางตรงทางอ้อม ป่าที่เก็บไว้ในรูปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติควรจะใช้ประโยชน์ในทางอ้อม” 
สารคดี ฉบับ 65 หน้า 94, กรกฎาคม 2533 
ถ้าเผื่อเรามีทรัพยากรที่เป็นลุ่มน้ำอยู่มาก แล้วเรารักษาป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ได้บางส่วน ใช้ไปบางส่วน เหมือนสมัยที่เรามีป่ามาก เราอาจจะสร้างเขื่อนได้บางแห่ง แต่ในปัจจุบัน ลักษณะของพื้นที่ที่เป็นลุ่มน้ำที่เหมาะจะสร้างเขื่อนให้ได้ปริมาณน้ำมาก ๆ เอามาผลิตกระแสไฟฟ้ามันเหลือน้อย และการที่เราสร้างเขื่อนไปก่อน แล้วค่อยตามแก้ไขผลกระทบทีหลัง ผมคิดว่ามันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ในทางปฏิบัติ...เดี๋ยวนี้เขื่อนเริ่มจะเข้าไปในพื้นที่อนุรักษ์แล้ว เพราะว่าป่าข้างนอกหมดแล้ว อย่างที่เขาใหญ่ก็เริ่มจะพูดถึงการสร้างเขื่อนในพื้นที่อนุรักษ์ หากว่าการสร้างเขื่อน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ายังทำได้อีกต่อไป ผมคิดว่าป่าอนุรักษ์ในอนาคตคงไม่มีความหมายอะไร เหลือแต่ชื่อเอาไว้ว่า เคยเป็นป่าอนุรักษ์มาก่อน 
สารคดี ฉบับ 65 หน้า 96, กรกฎาคม 2533 
ถึงแม้จะมี พ.ร.บ.ป่าไม้ แต่ป่าไม้เมืองไทยก็ยังลดลงตลอดเวลา นโยบายป่าไม้แห่งชาติ จึงออกมาเพื่อควบคุม พ.ร.บ.ป่าไม้อีกที โดยเขาแบ่งป่าออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ ป่าอนุรักษ์กับป่าเศรษฐกิจ โดยให้ป่าเศรษฐกิจ ๒๕% กับป่าอนุรักษ์ ๑๕% ซึ่งจะทำให้พื้นที่ป่าไม้ของประเทศทั้งหมด ๔๐% ซึ่งมองแล้วมันดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันจะเพิ่มในแง่ของป่าเศรษฐกิจ พวกยูคาลิปตัส ซึ่งไม่ได้เน้นในเรื่องของระบบนิเวศวิทยา การที่เราปลูกไม้โตเร็ว ๒-๓ ชนิด แล้วไปตัดไม้ในป่าธรรมชาติ ผมคิดว่ามันไม่มีทางรักษาป่า หรือทำให้เป็นป่าธรรมชาติได้อีก สำหรับป่าธรรมชาติตอนนี้เหลืออยู่เพียง ๑๙% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นป่าอนุรักษ์ต้นน้ำ ลำธาร อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ประมาณ ๙% ส่วนอีกไม่ถึง ๑๐% เป็นป่าสงวนที่อยู่รอบ ๆ ป่าอนุรักษ์ ตัวนี้แหละที่ถูกราษฎรบุกรุกอยู่ทุกวันโดยอ้างว่าไม่มีที่ดินทำกินและมีการซื้อขายอย่างผิดกฏหมาย โดยพวกนายทุนที่อยู่ในเมืองหรือมีอิทธิพล หนทางแก้ไข มันต้องหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งอันนี้ต้องมีการประสานกันทุกฝ่าย หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ต้องรับรู้นโยบายกันบ้าง แล้วก็ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่า ถ้าเขาขายที่ดินอันนี้ไปแล้ว เขาไม่มีทางไปอีกนั่นแหละจึงจะสามารถหยุดปัญหานี้ได้ 
พีเพิล ฉบับ 21 หน้า 61, สิงหาคม 2533 
ถึงแม้จะหยุดป่าสัมปทานแล้วก็ตาม แต่ราษฎรที่บุกรุกอยู่ในเขตป่าสงวนตอนนี้ ล้านกว่าครอบครัว ป่าไม้ที่ไหนจะเหลือ นอกจากความจริงใจของรัฐบาล เค้าบอกว่าจะต้องรักษาป่าให้ได้โดยการจำแนกพื้นที่ออกมาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และบอกเลยว่าป่าสงวนตรงนี้ห้าม ห้ามมีกรรมสิทธิ์ ห้ามเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ตอนนี้ป่าหมดเพราะอะไรรู้ไหม เพราะป่าสงวนหมดสภาพ สามารถเปลี่ยนแปลง เป็นป่ายูคาลิปตัสได้ ผมไม่อยากจะเรียกป่า เพราะมันไม่ใช่ป่า 
อิมเมจ ฉบับ 3 หน้า 32, มีนาคม 2533

แนวความคิดเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่า
การอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทย จะสามารถประสบผลสำเร็จได้ต้องอาศัยความเข้าใจ และความจริงใจต่อการอนุรักษ์ป่าธรรมชาติที่ยังเหลืออยู่ประมาณร้อยละ ๒๐ ของพื้นที่ทั้งประเทศ ไม่เช่นนั้นแล้วจำนวนชนิดของสัตว์ป่าที่หายากและกำลังจะสูญพันธุ์เหล่านี้ก็จะต้องสูญไป พร้อมกับการบุกรุกทำลายป่า ทั้งในรูปแบบของการพัฒนาที่ต้องตัดป่า ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าออกและรวมถึงการยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าเพื่อกิจการอื่น ๆ
เอกสารประกอบการสัมมนาสิ่งแวดล้อม ๓๓ หน้า ๔๒
ปัญหาของการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ช่องว่างของกฏหมายที่อนุญาต ให้บุคคลมีสัตว์ป่าไว้ครอบครองโดยไม่ต้องขออนุญาต สิ่งนี้เป็นช่องทางให้การล่าสัตว์ มันเหมือนกฎหมายสัตว์ป่าที่คุณบอกว่า คุณสามารถที่จะมีเก้ง มีกวาง มีเสือ มีหมาไน หมาจิ้งจอก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พวกนี้มีไว้ในครอบครองได้ ถ้าไม่เกินปริมาณที่กำหนด ทำไมในเมื่อเราคุ้มครองแล้ว ทำไมเราไม่คุ้มครองมันทุกตัว แก้กฎหมายสิ
อิมเมจ ฉบับที่ ๓ หน้า ๓๑,มีนาคม ๒๕๓๓
สัตว์ป่าที่ถูกเลี้ยงมาตั้งแต่เล็ก ๆ ถ้าสามารถรอดชีวิตมาได้จนโต จะคุ้นเคยกับคน จนไม่สามารถปล่อยให้มีชีวิตอยู่ต่อไปในป่าได้ตามลำพังอีก... และส่วนมากลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่อยู่ในกรง ก็มักจะไม่แข็งแรง และเมื่อมันโตขึ้นก็จะเกิดการผสมกันเองในครอบครัวเดียวกัน... เรากำลังพูดกันมากว่าจะอนุรักษ์กันอย่างไร แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าการรักษาชีวิตสัตว์ให้รอดอยู่ แตกต่างอย่างมากมายกับการอนุรักษ์พันธุ์ของสัตว์ป่าชนิดนั้น ๆ
เอกสารประกอบการสัมมนาสิ่งแวดล้อม ๓๓ หน้า ๔๓-๔๔
พวกที่ชอบล่าสัตว์ป่าและพวกชอบกินเนื้อสัตว์ป่า ผมขอเถอะ พวกที่ชอบซื้อสัตว์ป่ามาเลี้ยงก็เช่นกัน ธรรมชาติเขาเลี้ยงได้ดีกว่าอยู่แล้ว
สารคดี ฉบับ ๖๕ หน้า ๑๐๐,กรกฎาคม ๒๕๓๓
ในแง่ของการอนุรักษ์ คือการที่เราจะช่วยเหลือไม่ให้มันสูญพันธุ์ การทำให้มันมีประชากรเพิ่มขึ้น จะเป็นในกรงเลี้ยงหรืออะไรก็ตาม ถ้าเราไม่สามารถปล่อยมันคืนไปในป่าธรรมดา ให้มันปรับตัวแลัวเพิ่มประชากรโดยตัวของมันเองได้ นั่นไม่ถือว่าเป็นการอนุรักษ์ แล้วพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีวิวัฒนาการ ปรับตัวให้อยู่ได้ในสภาพธรรมชาติ แต่ถ้าเราเอามันออกมาทำให้มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น แต่พันธุ์ไม่ได้รับการพัฒนา สัตว์ที่ถูกจำกัดให้อยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ มันก็จะผสมพันธุ์กันเอง ซึ่งจะทำให้เกิดลักษณะด้อยเพิ่มขึ้น
สารคดี ฉบับ ๖๘ หน้า ๑๐๕,ตุลาคม ๒๕๓๓
ขอคารวะแด่วิญญาณไพร ด้วยใจ
สายลมฯ


สัตว์ป่า........สืบ นาคะเสถียร

เหี้ย


เหี้ย

ภาพ:ตัวเหี้ย.jpg
        "ตัวเหี้ย" หรือ "ตัวเงินตัวทอง" หรือชื่อสากลว่า water monitor เป็นสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่ม monitor lizard ด้วยรูปร่างที่แปลกประหลาดและพฤติกรรมส่วนตัวของมัน ทำให้คำว่าตัวเหี้ยกลายเป็นภาษาที่ไม่สุภาพในที่สุด ทั้งที่แท้จริงแล้ว "เหี้ย" คือชื่อที่ถูกต้อง คำว่า "เหี้ย" นั้นมักใช้เป็นคำด่าทอ บางคนจึงเรียก ตัวเงินตัวทอง แทน ในเชิงการใช้คำศัพท์แบบที่ใช้กับคน มักจะใช้กับเพื่อนสนิทมากๆ พูดเป็นคำสร้อยนำหน้าชื่อก็มี

 ต้นกำเนิดเเละวิวัฒนาการ

        บรรพบุรุษของสัตว์สกุลนี้ถือกำเนิดในช่วงปลายของยุคไดโนเสาร์เมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน จนกระทั่งปัจจุบันนี้เหลืออยู่เเค่ประมาณ 67 ชนิดใน 3 ทวีปคือ ออสเตรเลีย เอเชีย และแอฟริกา สำหรับชนิดที่มีความยาวมากที่สุด 2 อันดับแรกอยู่ในทวีปเอเชีย คือ มังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ในประเทศอินโดนีเซีย ส่วนตัวเหี้ยในประเทศไทย ยาวเป็นอันดับที่สอง มีรูปร่างคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่มีความยาวได้ถึง 2.5-3 เมตร มีลิ้นแยกเป็นสองแฉกคล้ายงู ใช้สำหรับรับกลิ่น มีลายดอกสีเหลืองพาดขวางทางยาว ชอบอาศัยอยู่บริเวณใกล้แหล่งน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ป่าจากและป่าชายเลน ว่ายน้ำเก่งกว่าเพื่อนๆ ในสกุลเดียวกัน ดำน้ำได้นานว่ายน้ำเก่งและ ดำน้ำนาน ซึ่งเหี้ยมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ตะกวด เห่าช้าง และ ตุ๊ดตู่ ลักษณะนิสัยของตัวเหี้ยจะตื่นคนเวลาที่ตกใจหรือเจอศัตรูมักจะหนีลงน้ำไปอย่างรวดเร็ว ชอบหากินของเน่าเปื่อย เศษซากอาหาร บางครั้งก็จะกินสัตว์เป็นๆ เช่นไก่หรือเป็ดที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้

 สายพันธุ์เหี้ยในไทย

ภาพ:ตะกวด.jpg
        ในประเทศไทยตัวเหี้ยยังมีอยู่อีก 3 ชนิด ตัวแรกคือ คือ ตะกวด (Varanus bengalensis nebulosus) หรือภาษาอีสานเรียกว่า "แลน" คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นตัวเหี้ยเสมอ ตะกวดจะมีสีเรียบออกโทนสีน้ำตาลทั้งตัว ขณะที่ลำตัวของตัวเหี้ยเป็นสีดำมีลายดอกสีเหลืองเรียงอยู่อย่างมีระเบียบ รูปร่างส่วนใหญ่อาจจะดูคล้ายกัน แต่เมื่อสังเกตที่รูจมูกของตะกวด จะเห็นว่าอยู่ห่างจากปลายปากมาก ต่างจากตัวเหี้ยซึ่งรูจมูกอยู่ใกล้ปลายปากมาก ทั้งนี้เพราะกระบวนการวิวัฒนาการของรูปร่างนั่นเอง จมูกที่ใกล้ปลายปากทำให้ตัวเหี้ยสามารถอยู่ในน้ำได้นาน เวลาที่มันดำน้ำมันไม่ต้องเสียเวลาโผล่ขึ้นมาหายใจทั้งหัว เพียงแค่โผล่ส่วนปลายของหัวขึ้นมาก็หายใจได้แล้ว ขณะที่สายตายังคงกวาดหาเหยื่อในน้ำต่อไปได้ ส่วนตะกวดนั้นอาศัยอยู่ตามที่ดอน ห่างจากแหล่งน้ำออกมา ใช้ปากในการขุดคุ้ยอาหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแมลงต่างๆ และสัตว์ขนาดเล็กๆ จมูกของมันจึงต้องอยู่ห่างจากปลายปากออกมา สองชนิดนี้เป็นชนิดที่พบได้ง่ายและพบได้ทั่วประเทศไทย
ภาพ:Chang.jpg
  • เห่าช้าง
เห่าช้าง เป็นสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มของเหี้ย และ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Varanus rudicollis โดยชื่อ เห่าช้าง มาจากเสียงขู่ศัตรู ฟังดูคล้ายเสียงขู่ของงูเห่า เชื่อกันว่าน้ำลายมีพิษ หากถูกกัดจะเป็นอันตรายถึงตายได้ ที่จริงแล้วเป็นความเชื่อที่ผิด
ลักษณะทั่วไป
        ตัวจะเล็กกว่าเหี้ย มีความยาวประมาณ 1.3 เมตร มีสีดำเข้ม มีลายเลือน ๆ ขวางลำตัว ปากแหลมและเกล็ดบนสั้น เกล็ดบนคอใหญ่เป็นแหลม ๆ คล้ายหนามทุเรียน เฉพาะช่วงคอเกล็ดจะย้อนไปหาศีรษะ ชอบอยู่ในป่าทึบและเดินหากินบนพื้นดิน แต่ก็ปีนต้นไม้เก่ง พบในป่าในภาคใต้ของประเทศไทยและพม่า หมู่เกาะสุมาตรา บอร์เนียว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ แต่ก็มีรายงานพบที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมาด้วย อาหารคือ ไก่ นก ปลา กบ เขียด กินได้ทั้งของสด และของเน่า
การผสมพันธุ์
        ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม โดยวางไข่ตามหลุมที่ขุดเป็นโพรง เมื่อออกไข่แล้วจะไม่ฟักไข่ ลูกฟักออกจากไข่เองตามธรรมชาติ และเมื่อลูกออกจากไข่แล้วก็จะหากินเอง
ภาพ:เหี้ยดำ.jpg
  • เหี้ยดำ
เหี้ยดำ(มังกรดำ)Black Jungle Monitor ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus salvator komaini
ลักษณะทั่วไป
        มีขนาดเล็กกว่าเหี้ยมาก เมื่อโตเต็มวัยจากปลายปากถึงโคนหาง 50 เซนติเมตร หางยาว 60 เซนติเมตร มังกรดำ สีดำสนิทด้านทั้งตัว ไม่มีลายและจุดด่างเลย ท้องเทาเข้ม ลิ้นสีเทาม่วงมังกรดำเป็น Monitor ชนิดที่พบใหม่ มีรูปลักษณะคล้ายเหี้ยลักษณะของเกล็ดผิดเพี้ยนกันเพียงเล็กน้อย
ถิ่นอาศัย, อาหาร
        มังกรดำพบได้เฉพาะบริเวณชายทะเลและเกาะเล็ก ๆ ทางฝั่งตะวันตกภาคใต้ของประเทศไทย
ภาพ:เหี้ยลายดอก.jpg
  • เหี้ยลายดอก
Water Monitor
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus salvator
ลักษณะทั่วไป
        ตัวสีดำ ลิ้นสีม่วงปลายแฉกมีลายดอกสีขาวหรือเหลืองเป็นแถวพาดขวางตัว หางเป็นปล้องสีดำสลับกับเหลืองอ่อน หนังหยาบเป็นเกล็ด ลำตัวมีขนาดใหญ่กว่าสัตว์อื่นในจำพวกเดียวกัน แต่เล็กกว่ามังกรโคโมโด
ถิ่นอาศัย, อาหาร
        พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอินเดียและศรีลังกาในประเทศไทยพบได้ทุกภาค เหี้ยไม่เลือกอาหาร กินทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ สัตว์ปีก เช่น ไก่ นก ปลา กบ เขียด หนู กินได้ทั้งของสดและของเน่า
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
        ดุ ใช้หางเป็นอาวุธฟาดศัตรูแล้วใช้ปากกัด ชอบอยู่ใกล้น้ำว่ายน้ำ ดำน้ำเก่ง และขึ้นต้นไม้เก่งด้วย เหี้ยวางไข่ครั้งละ 15-30 ฟอง ขุดหลุมหรือทำโพรงเป็นที่วางไข่ ไม่ฟักไข่ คือพ่อแม่ไม่ต้องกกไข่ ลูกฟักตัวออกมาเองจากไข่โดยธรรมชาติ เมื่อลูกออกมาจากไข่แล้วก็หากินเอง เปลือกไข่นิ่มแต่เหนียว
ภาพ:ตุ๊ดตู่.jpg
  • ตุ๊ดตู่
Red-headed Monitor(Harlequin Monitor)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus dumerilii
ลักษณะทั่วไป
        ลำตัวยาว 50-125 เซนติเมตร เมื่อเล็กตั้งแต่ปลายปากถึงคอสีส้มถึงแดงเข้ม เมื่อโตสีจะจางลง มีขีดสีดำตั้งแต่ขอบตาถึงคอ ลำตัวมีขวั้นสีเหลืองตั้งแต่คอถึงปลายหาง ตุ๊ดตู่เป็นสัตว์ที่เล็กที่สุดในกลุ่มสัตว์จำพวกเหี้ย-ตะกวดที่พบได้ในประเทศไทย และเป็นสัตว์ไม่มีพิษ
ถิ่นอาศัย, อาหาร
        พบอาศัยในป่าดิบชื้นภาคใต้ของประเทศไทยและพบในมาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว สิงคโปร์ ตุ๊ดตู่กินเนื้อสัตว์และแมลงต่าง ๆ
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
เป็นสัตว์เชื่องช้า ไม่ค่อยออกไปหากินไกลจากที่หลับนอน ชอบนอนตามโพรงไม้ หรือซอกหิน เมื่อหิวจึงจะออกหากิน แล้วก็กลับเข้าหลับนอนตามเดิม ตุ๊ดตู่วางไข่ครั้งละ 23 ฟอง ระยะฟักไข่ 203 - 230 วัน
ภาพ:เเลนดอน.jpg
  • แลนดอน Yellow monitor
(V. flavescens)
        เคยมีรายงานในไทย แต่ไม่มีใครพบนานมากแล้วครับ แต่มีมากทางอินเดีย ติดบัญชีไซเตส 1ลักษณะคล้ายแลน แต่ไม่ค่อยอยู่ใกล้น้ำ คืออยู่ที่ดอน (คือ ตะกวด.....คนภาคใต้เรียก) แลนดอนพบภาคตะวันตกครับกับใต้ครับ

 การผสมพันธุ์

        เมื่อถึงช่วงผสมพันธุ์ในฤดูฝน ตัวเหี้ยจะจับคู่กันโดยไม่เลือกว่าคู่จะต้องเป็นตัวเดิม บางครั้งอาจมีการต่อสู้รุนแรงระหว่างตัวเหี้ยเพศผู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย โดยปกติแล้ว ไข่จะมีลักษณะรียาว บางครั้งจะสีขาวขุ่น จำนวนมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของแม่พันธุ์ ตัวเหี้ยส่วนใหญ่จะวางไข่ประมาณ 6-30 ฟองหรืออาจจะถึง 50 ฟอง ในขณะที่ตุ๊ดตู่วางไข่ครั้งละประมาณ 4-14 ฟอง ในแต่ละปีจะสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง และใช้เวลาฟัก 45-50 วัน หรืออาจมากกว่านั้นในพื้นที่ซึ่งสภาพในฤดูแล้งและฤดูฝนไม่แตกต่างกัน ไข่จะถูกกลบเป็นเนินดินหรือรังปลวก เวลาในการฟักขึ้นกับชนิดและสภาพแวดล้อม ทั้งนี้ตัวเหี้ยจะวางไข่ในปลายฤดูร้อนต่อเนื่องฤดูฝน จะจับคู่กันโดยไม่เลือกว่าคู่จะต้องเป็นตัวเดิม บางครั้งอาจมีการต่อสู้รุนแรงระหว่างตัวผู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย โดยออกลูกเป็นไข่

 การหากิน

        ชอบหากินของเน่าเปื่อย เศษซากอาหาร บางครั้งก็จะกินสัตว์เป็นๆ เช่นไก่ เป็ด ปู หอยงู หนู นก ปลา ปู หอย งู หนู นก และไข่ของสัตว์ต่างๆ รวมทั้งปลา ส่วนเห่าช้างและตุ๊ดตู่ จะกินอาหารที่มีขนาดเล็กกว่าอาหารโปรดของตัวเหี้ย ส่วนมากจะเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน ขณะที่ตะกวดจะกินแมลงตามเปลือกไม้เป็นอาหาร รวมทั้งไข่ของสัตว์อื่นๆ ที่มีขนาดพอดีกับความกว้างของปาก

 การบริโภคเหี้ยของมนุษย์

        เหี้ยมีการนำมารับประทานในทางภาคเหนือนำมาทำอาหารกินกัน ซึ่งราคาก็จัดอยู่ในระดับค่อนข้างจะดี เรียกว่า "แกงอ่อมแลน" รสชาติเผ็ด จัดจ้าน เนื้อเหี้ยจะมีรสชาติคล้ายเนื้อไก่บ้าน แต่จะแน่นมาก ตอนนี้จะมีสองแบบ คือแลน(เลี้ยง)กับแลนธรรมชาติ ตรงส่วนโคนหางที่เรียกว่า " บ้องตัน " จะอร่อยที่สุดเพราะเนื้อจะแน่นและมีกระดูกน้อย

 ที่มาของคำด่าทอ

        ในสมัยอดีต ชาวบ้านมักจะเลี้ยงไก่ไว้ในบริเวณบ้าน ตัวเหี้ยมักจะมาขโมยไก่ของชาวบ้านลากไปกินในน้ำ ทำให้เป็นสัตว์ที่ผู้คนเกลียดมาก เลยนำมาใช้เรียกคนไม่ดี ว่า "ไอ้เหี้ย" และกลายเป็นคำด่าทอมาจนปัจจุบัน อนึ่ง มีความเชื่อว่าถ้าเหี้ยขึ้นบ้านใคร บ้านนั้นจะมีแต่ความโชคร้าย จึงเปลี่ยนชื่อเรียกให้ฟังมีสิริมงคล โดยเรียกว่า " ตัวเงินตัวทอง "

 สวนสัตว์เปิดตัวเงินตัวทอง

        ด้วยมีการล่าสัตว์ในตระกูลนี้เป็นจำนวนมาก ประกอบกับการลดลงของป่าไม้ ที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ จึงมี "สวนสัตว์เปิดตัวเงินตัวทอง " ให้ได้ชมตัวจริง ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

 สถานภาพปัจจุบัน

        เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ปลาดุก

ปลาดุก

เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดี และมีความนิยมบริโภค ในอัตราที่สูง สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงอย่างงดงาม เพียงแต่มีน้ำดี สภาพพื้นที่ดี มีการเอาใจใส่ดูแลให้อาหารดี รวมทั้งผู้เลี้ยงขยันศึกษาหาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้กับกิจการของตน และเพื่อสนองตอบปัจจัยในการเลี้ยงปลาดุกอย่างมีประสิทธิภาพ
ปลาดุกที่พบในประเทศไทย
ในประเทศเรานั้นพบว่ามีปลาดุกด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด แต่เท่าที่รู้จักมีเพียง 2 ชนิด คือ ปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดีเนื้อปลานุ่ม ฟู
กลิ่นดี
ปลาดุกอุย
สีของผิวหนังค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามตัวและบริเวณด้านข้างของลำตัวอย่างเด่นชัด เนื้อสีออกเหลือง มีมันมาก ลำคัวค่อนข้างทู่ ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยจะป้านและสั้น
ปลาดุกด้าน
สีของลำตัวค่อนข้างคล่ำเล็กน้อย เนื้อมีสีขาว มีมันน้อย ส่วนหัวค่อนข้างแหลมและส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยมีลักษณะแหลมยาว ลักษณะดังกล่าว สังเกตเห็นได้ชัดเจนมาก
แหล่งกำเนิดและถิ่นอาศัย
ปลาดุกจะพบแพร่กระจายทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง บึง ต่างๆทั่วทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป แม้ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยก็ยังพบปลาดุก ทั้งนี้เพราะปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษในการหายใจ เช่นเดียวกับปลาช่อน ดังนั้นจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อยและถึงแม้ว่าน้ำที่ค่อนข้างกร่อยปลาดุกก็ยังสามารถอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี
ลักษณะนิสัยของปลาดุก
ปลาดุกมีลักษณะที่ต่างจากปลาอื่นอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาดุกไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4 คู่อยู่ที่ริมฝีปาก ตามีขนาดเล็กมาก ใช้หนวดในการหาอาหาร เพราะหนวดปลาดุกมีประสาทรับความรู้สึกที่ดีกว่าตา ปลาดุกชอบหากินตามหน้าดิน มีนิสัยว่องไว สามารถจะขึ้นมาอยู่บนบกได้ทนนานกว่าปลาชนิดอื่นๆ รวมถึงสามารถที่จะอาศัยอยู่ในดิน โคลน เลน และในน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้นาน เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนั่นเอง อาหารที่ปลาดุกชอบกิน ส่วนมากเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่อก็สามารถฝึกให้กินอาหารจำพวกพืชได้ รวมถึงสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมากินอาหารบริเวณผิวน้ำแทนการหาอาหารกินตามหน้าดินได้เช่นเดียวกัน
อาหารปลาดุก
อาหารไม่ว่าสิ่งมีชีวิตใดๆ ล้วนแล้วแต่ต้องการอาหารเพื่อการดำรงอยู่ด้วยกันทั้งนั้น เมื่อปลาดุกฟักไข่ออกมาเป็นตัวลูกปลาดุกจะใช้อาหารจากถุงไข่แดงซึ่งติดอยู่ด้านหน้าท้องของลูกปลา ประมาณ 1 – 2 วัน ถุงไข่แดงจะยุบลง นั่นเป็นเครื่องหมายว่าอาหารที่ติดตัวลูกปลาดุกมาตั้งแต่เกิดได้ใช้หมดไปแล้ว จำเป็นต้องมีการหาอาหารจากสภาพแวดล้อมกิน ในช่วงนี้ผู้เลี้ยงลูกปลาดุกจำเป็นต้องใช้อาหารเพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งต้องมีปริมาณของโปรตีนสูง ได้แก่ ไข่แดงต้มสุก ไรแดง หรืออาหารผสม ต่อมาเมื่อปลาโตขึ้นสามารถที่จะปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้ อาหารที่ให้ได้แก่ ปลาเป็ดสับบดละเอียดผสมกับรำ หรือ อาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำ จวบจนกระทั่ง สามารถจับปลาดุกขายได้
ในธรรมชาติลูกปลาดุก กินอาหารจำพวกโปรโตซัว ไรน้ำขนาดเล็ก โรติเฟอร์และแพลงค์ตอนพืช ปลาดุกที่มีขนาดโตขึ้น จะกินอาหารจำพวกตัวอ่อนของแมลง ลูกกุ้ง ลูกปู หนอน และอินทรีย์สารที่อยู่ตามพื้นโคลน นอกจากนี้ยังสามารถฝึกให้กินอาหารสมทบทั้งประเภทจมน้ำ หรืออาหารชนิดเม็ดลอยน้ำได้ ซึ่งมีส่วนผสมของอาหารประเภทปลายข้าว รำ กากถั่ว ปลาป่น เป็นต้น
ปลาดุกกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ( Omnivorous) มีนิสัยชอบหาอาหารกินในเวลากลางวันตามบริเวณพื้นก้นบ่อ และจะขึ้นมากินอาหารบริเวณพื้นผิวน้ำเป็นบางขณะ ในบางครั้งก็ถือว่าปลาชนิดนี้เป็นพวก Scavengers เนื่องจากเป็นปลาที่มีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเศษเนื้อที่กำลังสลายตัว ปลาดุกมีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารจำพวกพืชหรืออาหารจำพวกแป้ง
อาหารต่างๆ เหล่านี้ ทั้งที่มีตามธรรมชาติ ทั้งที่ผสมให้กินโดยการทำเองมีสารอาหารต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องให้ปลาดุกอย่างครบถ้วน ตามที่ปลาดุกต้องการ ปลาดุกจึงเจริญเติบโตได้ดี คุณค่าทางอาหารที่ปลาดุกต้องการและจำเป็นมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ
โปรตีน เป็นส่วนสำคัญของอาหารเพื่อนำเข้าไปเสริมสร้างร่างกาย ในส่วนที่สึกหรอ หรือนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ความต้องการโปรตีนของปลาดุกนั้นจะแตกต่างกันไปตามวัยและเวลาที่เพิ่มขึ้น ในลูกปลาวัยอ่อนจนถึงขนาดสามารถปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้มีความต้องการโปรตีนอยู่ในช่วง 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในช่วงระยะเวลาที่อยู่ในบ่อเลี้ยงปลาดุกมีความต้องการโปรตีน 25 – 35 เปอร์เซ็นต์
คาร์โบไฮเดรต สารอาหารประเภทนี้ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานได้บางส่วนแก่ร่างกาย ความต้องการคาร์โบไฮเดรตของปลาดุกจะอยู่ในช่วง 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วปลาดุกจะไม่ขาดสารอาหารประเภทนี้เพราะมีอยู่ในแป้ง ปลายข้าว รำ และในข้าวโพด นอกจากนี้วัตถุดิบเหล่านี้ในอาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำ จะช่วยให้อาหารรวมตัวกันได้แน่นขึ้นอีกด้วย
ไขมัน ไม่ว่าอาหารชนิดใดมักจะมีไขมันปะปนอยู่ด้วยเสมอไม่มากก็น้อย ซึ่งสารอาหารนี้เป็นสารอาหารที่ให้กำลังงานในปริมาณที่สูง บางครั้งปลาดุกที่ได้รับไขมันเป็นจำนวนมากก็จะมีโทษได้เช่นเดียวกันกับการมีประโยชน์ของมัน ในอาหารที่ให้ปลาดุกไม่ควรจะมีไขมันในปริมาณที่มากเกิน 5 – 6 เปอร์เซ็นต์ วัตถุดิบที่มีไขมันในปริมาณมากได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
วิตามิน สารอาหารชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นอาหารบำรุง เพราะมีส่วนช่วยให้ปลาดุกสามารถใช้สารอาหารอื่นๆ ได้มากขึ้น ทำให้ปลาดุกมีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นโดยที่สารอาหารชนิดนี้เองไม่ได้มีส่วนในการเจริญเติบโตของปลาดุกโดยตรงเลย ดังนั้นวิตามินจึงมีความจำเป็นที่ปลาดุกจะต้องได้รับตามความเหมาะสม
แร่ธาตุ เป็นส่วนประกอบสำคัญๆ ของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน และยังเป็นสารที่ควบคุมปริมาณของน้ำในตัวปลา แร่ธาตุมีอยู่ในสารอาหารโดยทั่วๆ ไปอยู่แล้ว
อาหารลูกปลา
ไข่แดงต้มสุก เป็นอาหารของปลาดุกในช่วงในช่วงที่ปลายังมีขนาดเล็ก ไม่สามารถกินอาหารอื่นๆ ได้ ไข่ที่นำมาใช้เป็นไข่เป็ด หรือไข่ไก่ ก็ได้ต้มให้สุกใช้แต่ไข่แดง โดยบี้ไข่แดงยีกับผ้าขาวบางตาละเอียดให้เม็ดเล็กที่สุด การให้ไข่แดงอย่าให้มาก เพราะเมื่อหลงเหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย
ไรแดง เป็นอาหารหลักของลูกปลาวัยอ่อน ช่วยให้ลูกปลามีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว มีอัตราการรอดสูง ก่อนให้ไรแดงเป็นอาหารลูกปลาทุกๆ ครั้งต้องแช่ด้วยด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อโรคเสียก่อน
อาหารปลาใหญ่
ปลาเป็ด เมื่อเรืออวนลากออกจับปลาตามชายฝั่ง จะได้ปลาหลายๆ ขนาด ปลาขนาดเล็กที่จับได้ไม่เป็นที่นิยมบริโภคกันมีราคาไม่แพงมากนัก ปลานี้เราเรียกว่าปลาเป็ด มีคุณค่าของสารอาหารประเภทโปรตีนสูง การให้ปลาเป็ดเป็นอาหารปลาดุกมักจะสับให้ละเอียด หรือใช้เครื่องบดอาหารได้
อาหารเม็ดลอยน้ำ ได้จากการนำวัตถุดิบต่างๆ ทางการเกษตรที่มีคุณค่าทางอาหารมาบดให้ละเอียดแล้วผสมให้เข้ากันอัดเป็นเม็ดออกมา
วัตถุดิบที่นิยมทำมาเป็นอาหารเลี้ยงปลาดุกทั่วๆไป จะหาซื้อได้ตามท้องถิ่นที่ได้จากพืช ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง กากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเมล็ด กากถั่วลิสง กากมะพร้าว ส่วนวัตถุดิบที่ได้มาจากสัตว์ก็มี ปลาเป็ด ปลาป่น เลือดป่น ในการเลือกวัตถุดิบเหล่านี้ควรจะเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี ไม่ขึ้นรา ไม่เหม็นหืน อาหารที่ได้จึงมีคุณภาพดี เก็บไว้ใช้ได้นาน